หอการค้า
จังหวัดเชียงใหม่
หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นองค์กรตัวแทนของภาคเอกชน และเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ตลอดระยะเวลา 40 ปี ที่ผ่านมา หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ได้ทำหน้าที่ และดำรงบทบาทส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสมาชิก ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของจังหวัดมาอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการมีบทบาทในนโยบายสาธารณะ และการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีคณะกรรมการบริหารสานต่อเจตนารมณ์ของผู้ร่วมก่อตั้งมาถึง 20 สมัย
วิสัยทัศน์
สมัยที่ 23
วิสัยทัศน์
สมัยที่ 23
" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผ่านเครือข่ายเเละเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเเข่งขันอย่างยั่งยืน "
โดยได้กำหนดพันธกิจ
5 ด้าน
การสร้างความยั่งยืนของหอการค้ามุ่งมั่นส่งเสริมองค์กรหอการค้าฯ ให้เข้มแข็ง โดยการพัฒนาศักยภาพ
ขององค์กรในภาพรวมในระดับคณะกรรมการ และสำนัก งานเลขาธิการหอการค้า ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆของหอการค้า อีกทั้งยังสร้างความแข็ง แกร่งด้านการเงิน การพัฒนาหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สู่รางวัลหอการค้ายอดเยี่ยม เพื่อเป็นองค์กรชั้นนำและเป็นตัวอย่างในการบริหารองค์กรแด่ภาคเอกชนต่างๆ
สร้างประโยชน์แก่สมาชิก เชื่อมโยง สร้างเครือข่ายสมาชิก โดยการนำระบบดิจิทัลสารสนเทศ รวมถึง ระบบการสื่อสารบริการ เพื่อสร้างความใกล้ชิดและสร้างผลประ โยชน์สู่มวลหมู่สมาชิกให้มีความชัดเจน ตอบสนองตรงความ ต้องการของสมาชิกเป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกฯ มีความเชื่อมั่นและสนับสนุนการดำเนินงานหอการค้าอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมุ่งเน้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาองค์ความรู้จากสมาชิกหอการค้าชั้นนำต่างๆ เพื่อเป็นการจัด การความรู้ การแชร์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างสมาชิกด้วยกัน
สร้างความร่วมมือกับพันธมิตร จังหวัดเชียงใหม่ มีเครือข่าย ชมรม สมาคม สภาทางด้านธุรกิจ ชั้นนำ
มากมาย ที่หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่มุ่งสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐเอกชน สถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อการให้เกิดการร่วมมือในการสร้าง สรรค์โครงการ แลกเปลี่ยนข้อมูล ร่วมผลักดันโครงการต่างๆ ให้ข้อเสนอแนะแนวทางใน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ยิ่งไป กว่านั้นผลักดันให้เชียงใหม่ เป็นเมืองแห่ง Market Place ในระดับนานาชาติผ่านกลไกความร่วมมือของบ้านพี่เมืองน้อง
พันธกิจการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ส่งเสริมและการพัฒนาสร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจเชียงใหม ่ ทั้งโครงสร้างทางกายภาพ โลจิสติกส์ การค้า การลงทุน ในระดับจังหวัด ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ในการเปิดตลาดสินค้าและบริการในพื้นที่ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ อีกทั้งมุ่งเสริมสมรรถนะธุรกิจและเมืองสู่การเป็น Innovation and Smart City การส่งเสริมผลักดัน
ให้มีการบริการ รูปแบบการท่องเที่ยวมูลค่าสูง ส่งเสริมให้มีการนำความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ มาผนวกเทคโนโลยีเพื่อ
การสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่ๆ ก่อให้เกิดการจ้างงาน
การหมุนเวียนเกี่ยวเนื่องธุรกิจต่างๆ
การสร้างคุณค่าชีวิต และสิ่งแวดล้อมสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องควบคู ่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ นั้นคือคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่
จึงถือว่าการสร้างคุณค่าชีวิต พัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสริม รักษาสิ่งแวดล้อมถืออีกเป็นหนึ่งพันธกิจหลัก ที่ต้องร่วมผลักดันส่งเสริม ทั้งการลดปัญหาฝุ่นควัน การผลักดันส่งเสริม ให้เชียงใหม่เป็นเมืองสีเขียว (Green City) และยังคงรักษา ศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามล้านนา ให้ดำรงสืบต่อไป
หนังสือสถาปนาคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 23 ประจำปี 2564-2564
หนังสือสถาปนาคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 22 ประจำปี 2562-2563
สำนักงานคณะกรรมการเเข่งขันทางการค้า ในฐานะหน่วยงานกำกับดูเเลด้านการเเข่งขันทางการค้า ได้จัดทำหนังสือรวมกฎหมายการเเข่งขันทางการค้า ภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ขึ้นเพื่อเป็นเสื่อในการเผยเเพร่ประชาสัมพันธ์กฎหมายการเเข่งขันทางการค้าให้กับหน่วยงานต่างๆตลอดจนประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดทำหนังสือ ” จดหมายข่าว วช. ” เพื่อเสนอข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการวิจัยเเละนวัตกรรม เผยเเพร่บทความทางวิชาการ ผลงานวิจัยนวัตกรรมเเละสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่เป็นประโยชน์ต่อสาธาณชน
นโยบาย กลยุทธ์ แนวทางและแผนการดำเนินงาน
นโยบายตามพันธกิจที่ 1
มุ่งมั่นส่งเสริมองค์กรหอการค้าฯ ให้เข้มแข็ง โดยการพัฒนาศักยภาพขององค์กร ในภาพรวมในระดับคณะกรรมการ และสำนักงานเลขาธิการ
หอการค้า โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการสู่เป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์- พันธกิจ ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ร่วมกัน โดย พัฒนากระบวนการทำงาน ที่ทันสมัยโดยใช้ระบบดิจิทัลมาใช้ เพิ่มขึ้น มีการสื่อสารที่ดีทั้งภายในหอการค้าและสู่มวลสมาชิก การบริหารการเงินที่โปร่งใส ตรวจสอบได้เพื่อมุ่งสู่ความเป็นองค์กรภาคเอกชนที่เข้มแข็ง
กลยุทธ์ตามพันธกิจที่ 1 1.
1. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานของหอการค้าฯ เพื่อการปรับ โครงสร้างการบริหารงานของหอการค้าฯ ทั้งระบบ ให้ สอดคล้องกับขีดความสามารถของบุคลากรแต่ละด้านเพื่อให้ องค์กรเข้มแข็งทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ได้แก่ อดีต ประธานหอการค้า คณะกรรมการหอการค้า ที่ปรึกษาจาก ภาคส่วนต่างๆ กรรมการกิตติมศักดิ์บุคลากรที่มีศักยภาพ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ประจำสำนักเลขาธิการหอการค้าฯ มาร่วม สนับสนุนการทำงานของหอการค้าฯ และการสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างบุคลากรอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง ภายใต้ วัฒนธรรมองค์กรหอการค้าฯ และให้ความสำคัญกับการ สื่อสารภายในองค์กร (Internal Communication) เพื่อสู่ เป้าหมายเดียวกัน
2. สร้างหอการค้าฯ ให้เป็นองค์กรตัวอย ่างที่ดี (Best Practice) เพื่อให้ได้รับการยอมรับในการเป็นองค์กร ภาคเอกชนที่ยอดเยี่ยมในระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง
3. การได้รับรางวัลหอการค้ายอดเยี่ยม เป็นอีกหนึ่ง กลยุทธ์และตัวชี้วัดที่สำคัญของหอการค้าจังหวัด ว่าสามารถ ดำเนินการผลักดันกลยุทธ์และโครงการต่างๆ จนได้ผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นที่ประจักษ์ แก่องค์กรต่างๆ และหอการค้าจังหวัดต่างๆ ด้วย
4. การมีส่วนร่วมในแนวคิดลดความเหลื่อมล้ำเสริมสร้างธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Good Governance and Corporate Social Responsibility) ได้แก่ โครงการทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน, โครงการ 1 บริษัท ดูแล 1 ชุมชน, โครงการปลุกพลังเปลี่ยนประเทศไทย (Inspiring Thailand), โครงการจรรยาบรรณธุรกิจดีเด่น, โครงการต่อต้านคอรัปชั่น เป็นต้น
5. สร้างความสัมพันธ์อย ่างใกล้ชิดกับสื่อมวลชน (Corporate Image) โดยพัฒนาแนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสื่อมวลชน เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่เชื่อถือได้อย่างต่อเนื่อง
6. มุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้แก่หอการค้า โดยบริหารงบประมาณและการเงินที่โปร่งใสพร้อมกับการสร้าง Branding กิจกรรมที่จะสร้างรายได้ให้หอการค้าฯเป็นประจำทุกปีได้แก่งานแสดงสินค้าหอการค้าแฟร์การจัดงานเชื่อมโยงทางธุรกิจระหว่างประเทศ (Business Matching) การจัดกิจกรรมด้านกีฬากอล์ฟเพื่อส่งเสริมสุขภาพและกระชับความสัมพันธ์กับเครือข่ายพันธมิตรต่างๆ การจัดโครงการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา เป็นต้น
7. การยึดหลักการบริหารจัดการองค์กรที่มุ่งเน้น ผลงาน (Output) ที่ชัดเจน มีมาตรฐาน สามารถแสดงผลมาตรวัด (Dash board) แสดงผลการดำเนินงานต่างๆและโดยมีการวิเคราะห์โครงการให้สอดคล้องกับพันธกิจยุทธศาสตร์ของหอการค้าฯ รวมถึงจัดโครงสร้างบุคลากรตามพันธกิจที่กำหนดไว้ โดยใช้เครื่องมือการบริหารจัดการตรวจสอบที่ทันสมัย
8. เพิ่มกระบวนการทำงานด้านการมีส่วนร่วมของทีม รวมถึงการสร้างให้องค์กรหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่เป็น Happy work place ผ่านกระบวนการพัฒนาคนในองค์กรอย่างมีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร เพื่อให้องค์กรมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะนำไปสู ่การพัฒนาเติบโตอย ่างต ่อเนื่องขององค์กร (การจัดการองค์กรโดยเน้น การจัดการ “คน” เป็นหลัก)
9. การสร้างระบบการตรวจสอบ ติดตามการบริหารงานจากภายนอก (Outside–In) ผ่านกลไกของที่ปรึกษา และ คณะอนุกรรรมการ รวมถึง การนำหลักธรรมาภิบาล มาใช้ในองค์กร เพื่อให้เกิดการปรับตัว ตรวจสอบได้โปร่งใส และปรับทิศทางวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์และแผนงานที่ไม่ตรงกับสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
นโยบายตามพันธกิจที่ 2
สานประโยชน์สู่มวลหมู่ สมาชิกให้มีความชัดเจน ใกล้ชิด ตอบสนองความต้องการของ สมาชิกเป็นหลัก โดยกำหนดยุทธศาสตร์และโครงการของ
หอการค้าฯ ให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกในภาพรวมเพื่อให้สมาชิกฯ มีความเชื่อมั่นและสนับสนุนการ ดำเนินงานหอการค้าอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์แนวทาง และแผนการดำเนินงาน
1. ส่งเสริมสนับสนุนสมาชิกในการพัฒนาขีดความสามารถ แลกเปลี่ยน เรียนรู้โดยสร้างการมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายตามประเภทธุรกิจของสมาชิกเอง ผ่านการสื่อสารในทุกรูปแบบ การจัดโครงการ/กิจกรรม การอบรมสัมมนาให้ความรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และตรงกับความ
ต้องการของสมาชิก
2. สนับสนุนให้สมาชิกรวมตัวเป็นเครือข่ายความร่วมมือ (Cluster) ในแต่ละวิสาหกิจของภาคธุรกิจในจังหวัดและส่งเสริมให้มีการริเริ่มธุรกิจใหม่ที่เป็นเทรนด์ใหม่ของไทย(New S-Curve) สามารถออกไปลงทุนหรือส่งออกไปต่างประเทศ
3. สร้างเครือข ่ายนักธุรกิจรุ่นใหม่ของหอการค้า Young Entrepreneurs’ Chamber of Commerce (YEC)เพื่อสานประโยชน์ และให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาและความต้องการในแต่ละกลุ่มธุรกิจ ผ่านการจัดการฝึกอบรมในหลักสูตรเชิงปฎิบัติการที่โดดเด่น และเป็นกำลังสำคัญของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม ่ในการร ่วมผลักดัน สืบสานพัฒนาการทำงานของหอการค้าต่อไปในอนาคต
4. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิก การเพิ่มกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้มาเป็นสมาชิกของหอการค้า ทั้งสร้างความเติบโตให้หอการค้า อีกทั้งยังเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างความเชื่อมโยงทางการค้าการลงทุนใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอีกด้วย ยิ่งไปกว ่านั้นหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ยังนำ
เทคโนโลยีมารวบรวมข้อมูลทุติยภูมิในแต ่ละอุตสาหกรรมประเภทธุรกิจ เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกในการนำไปใช้ในการวางแผน และกำหนดยุทธศาสตร์ของธุรกิจตนเอง
5. สร้างศูนย์ข้อมูลเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการสร้างสมองค์ความรู้ และแบ่งปันสู่ทุกภาคส่วนของธุรกิจ อย่างเป็นระบบ (Knowledge Sharing) ในการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์ เพื่อทำหน้าที่ชี้ทิศทางแก้ไขปัญหา และให้คำปรึกษาแก่สมาชิกอย่างทันสถานการณ์ผ่านช่องทางการสื่อสารของหอการค้าฯ ในหลายรูปแบบ อีกทั้งยังพัฒนาทักษะความรู้แก่สมาชิกและผู้ประกอบการ สำหรับองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจของตนให้ก้าวหน้าต่อไป เช่น การส่งเสริมให้ความรู้ให้เกิดช่องทางการตลาดและการเงินใหม ่ให้กับสมาชิก ภายใต้แนวโน้มใหม่ทางเทคโนโลยีด้านการเงิน ผ ่านระบบออนไลน์–ดิจิทัล (E-Commerce) หรือ Block Chain เป็นต้น
นโยบายตามพันธกิจที่ 3
สนับสนุนร่วมมือองค์กรพันธมิตร หอการค้าฯ จะสร้างและสานต่อความ ร่วมมือจากองค์กรพันธมิตร ใน 3 ภาคส่วนได้แก่ ภาครัฐ ภาคสถาบัน การศึกษา ภาคเอกชน-ประชาสังคม และสื่อมวลชน อย่างต่อเนื่อง ที่จะทำงานประสานกันเป็นเอกภาพในการดำเนินโครงการพัฒนา เศรษฐกิจภายในจังหวัด และภาคเหนือร่วมกันอย่างสมานสามัคคียิ่งไปกว่านั้นยังส่งเสริมฟื้นฟู การเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรต่างๆ จากต่างประเทศ
ในการเชื่อมโยงตลาดการค้า การลงทุน และการซื้อขายระหว่างประเทศ (International Trade) การเปิดตลาดสินค้า บริการในพื้นที่สู่ตลาดการค้า การลงทุนระดับนานาชาติเป็นเมือง ที่เป็น Market Place ในระดับนานาชาติ ผ่านกลไกความ ร่วมมือของบ้านพี่เมืองน้อง (Sister City) ประเทศที่ได้ร่วม ลงนามความร่วมมือ เพื่อเศรษฐกิจเติบโตสร้างความเข้มแข็ง ให้ผู้ประกอบการยกระดับสู่การค้าระดับสากล เป็นต้น อีกทั้ง ยังร่วมทำงาน ร่วมมือ สร้างสรรค์โครงการกิจกรรมต่างๆ อัน ก่อประโยชน์แก่มวลสมาชิก จังหวัดเชียงใหม่ และประเทศ
กลยุทธ์แนวทาง และแผนการดำเนินงาน
1. บทบาทหอการค้ากับภาครัฐจะเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้คำปรึกษาและสนับสนุนการทำงานร่วมกันในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างยั่งยืนโดยเฉพาะประเด็นที่สมาชิกฯ ได้รับผลกระทบ ผ่านหลักการข้อมูลประกอบที่น่าเชื่อถือ เพื่อส่งสัญญาณให้ภาครัฐ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง อย ่างทันสถานการณ์ และข้อมูลที่แม่นยำผ่านเวทีคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.)
2. บทบาทหอการค้ากับภาคการศึกษา จะประสานความร่วมมือ ให้นำองค์ความรู้ในทุกมิติ มาเผยแพร่และประยุกต์กับการพัฒนาสมาชิกและภาคธุรกิจ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ในระดับผู้บริหาร นักธุรกิจ พ่อค้า และ ผู้ประกอบการรายใหม่ ให้ยกระดับในเชิงเปรียบเทียบในระดับ ภูมิภาค และระดับอาเซียนได้
3. บทบาทต่อพันธมิตรภาคเอกชน-ประชาสังคม จะให้ความร ่วมมือสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และ สอดคล้องกับพันธกิจร่วมกัน ทั้งในด้านวัฒนธรรม สังคม และ สิ่งแวดล้อม ในเวทีความร่วมมือที่สำคัญได้แก่ คณะกรรมการ ร่วมภาคเอกชน (กกร.), NNSPSME, คณะกรรมการเพื่อ โครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจหอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ (คสศ.), กลุ่ม Biz Club, กลุ่ม OTOP, สมาพันธ์SME ไทย ภาคเหนือ และจังหวัดเชียงใหม่, สมาคมด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
4. การฟื้นความสัมพันธ์กับเมืองคู่มิตรที่สำคัญของ หอการค้าฯ และจังหวัดเชียงใหม ่เพื่อเป็นการฟื้นฟู และ เชื่อมโยงสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจสำคัญที่เป็นรูปธรรมให้ ก้าวสู่การค้าสากล เพื่อให้เกิดตลาดใหม่ให้กับสินค้า บริการ ของสมาชิก ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ และหอการค้าฯ ได้ลงนาม เป็นเมืองพี่เมืองน้องกับหลายประเทศที่หอการค้าฯ จะต้องมีส ่วนในการติดตามและฟื้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น 1.เมืองยูโอชุ จังหวัดโทยามะ ญี่ปุ่น 2.เมืองซานราฟาเอล มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 3.เมืองกังวานจังหวัดเกาหลี 4.เทศบาลฮอนโจ จังหวัดไซตามะ ญี่ปุ่น 5.มลรัฐโตรอนโต แคนาดา 6.นครคุนหมิง มณฑลยูนนานจีน 7.นครเซี่ยงไฮ้จีน 8.จังหวัดย็อกยาการ์ต้า อินโดนีเซีย 9.จังหวัดชิงเต่า จีน 10.เมืองเฉิงตูจีน 11.จังหวัดเชียงตุงเมียนมา 12.จังหวัดฮอกไกโด ญี่ปุ่น 13.เมืองบูร์ซาสาธารณรัฐตุรกี ขณะที่หอการค้าฯ ได้ไปลงนามได้แก่ เมืองลียง (ฝรั่งเศส), จิตตะกอง (บังคลาเทศ), เขตปกครองสิบสองปันนา, CCPIT ของมณฑลยูนนาน, มณฑลเสฉวน,เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกวางสี, ชิงเต่ามณฑลซานตง (สาธารณรัฐประชาชนจีน), มณฑลซีอาน,มณฑลหนิงเซียะ สป.จีน เมืองผานโจว์ มณฑลกุ้ยโจว และล่าสุดคือหอการค้าและ CCPIT เมืองเฉินตูเป็นต้น, สหภาพเมียนมา ได้แก่ เชียงตุง ตองยีมัณฑะเลย์ และท่าขี้เหล็ก,ประเทศญี่ปุ่นได้แก่ โอซาก้า หอการค้าโอบิฮิโร่ เป็นต้น
นโยบายพันธกิจที่ 4
ส่งเสริมและการพัฒนาสร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจเชียงใหม่ ทั้งโครงสร้างทางกายภาพ โลจิสติกส์การค้าการลงทุน ในระดับจังหวัด ภูมิภาค และระหว่างประเทศ ในการเปิดตลาดสินค้าและบริการในพื้นที่ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ อีกทั้งมุ่งเสริมสมรรถนะธุรกิจและเมือง สู่การเป็น Innovation and Smart City การส่งเสริมผลักดันให้มีการบริการ รูปแบบการท่องเที่ยวมูลค่าสูง ส่งเสริมให้มีการนำความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ มาผนวกเทคโนโลยีเพื่อการสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่ๆก่อให้เกิดการจ้างงาน การหมุนเวียนเกี่ยวเนื่องธุรกิจต่างๆ
กลยุทธ์แนวทาง และแผนการดำเนินงาน
1. ผลักดันโครงการที่เป็นยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนจังหวัดเชียงใหม่ในอนาคต ที่สำคัญ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การเป็นนครแห่ง การดูแลสุขภาพ (Wellness City) และ Long Stay-Retirement Tourism, โครงการ Smart City, โครงการเมืองท่องเที่ยวมูลค่าสูง, โครงการ MICE City, การผลักดันพื้นที่เชียงใหม่ เป็นมรดกโลกในโซนที่เหมาะสม, การพัฒนาระบบ ขนส ่งสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม ่เชื่อมโยง ทุกภูมิภาคของประเทศ และระหว่างประเทศ
2. การร่วมมือกับหอการค้าจังหวัด เชียงรายที่จะผลักดันระบบโครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยงเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการมอเตอร์เวย์ หรือระบบรางเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมถึงการ ส่งเสริมให้เกิดระบบการค้าชายแดนของจังหวัด เชียงใหม่และสหภาพเมียนมาร์ในอนาคต ผ่าน ช่องทางจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก อ.เชียงดาว และ จุดผ ่อนปรนหลักแต่ง อ.เวียงแหง พร้อมกับ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
3. ร่วมผลักดันการจัดการผังเมือง จังหวัดเชียงใหม ่ให้สอดคล้องกับการเติบโต สมดุลในคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมและการ ท่องเที่ยวของคนในจังหวัดเชียงใหม่
4. การส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ทางด้านดิจิทัล (Tech Startup)เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อยกระดับ
ขีดความสามารถในการแข ่งขันในโลกดิจิทัล ผ ่านโครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เช่น การบ่มเพาะ อบรม การพัฒนาต้นแบบ
ผลิตภัณฑ์บนพื้นฐานของนวัตกรรมธุรกิจ ตลอดจนการสร้างโอกาสทางการตลาด การผลักดันการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การจำหน่ายสินค้า
และบริการผ่านช่องทาง E-Marketplaces และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้ประกอบการใหม ่ อันจะสรรสร้างระบบนิเวศทางการค้า
(Eco-system) ของจังหวัดเชียงใหม่
นโยบายพันธกิจที่ 5
สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ นั้นคือคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่จึงถือว่าการสร้างคุณค่าชีวิต พัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสริมรักษาสิ่งแวดล้อมถืออีกเป็นหนึ่งพันธกิจหลัก ที่ต้องร่วมผลักดันส่งเสริม ทั้งการลดปัญหา
ฝุ่นควัน การผลักดันส ่งเสริมให้เชียงใหม ่เป็นเมืองสีเขียว (Green City) และยังคงรักษาศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามล้านนา ให้ดำรงสืบต่อไป
กลยุทธ์แนวทาง และแผนการดำเนินงาน
1. บทบาทต่อประเด็นปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ การติดตามแก้ไขปัญหาหมอกควันในเชียงใหม่ที่เป็นวิกฤติของเมืองผ่านกลไกความร่วมมือทุกภาคส ่วน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ผ่านโครงการ
ของสภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่ มีส่วนร่วมในการพัฒนา FinTech Crowdfunding for Long-term Wild Fire Protection (การแก้ปัญหาไฟป่าอย่างถาวร) หรือ Northern Thailand Tree Bank Social Enterprise 2020-2039 เป็นต้น
2. การมีส่วนร่วมสนับสนุนผลักดัน กฎบัตรเชียงใหม่ ที่จะยกระดับจังหวัดเชียงใหม่เป็นการท่องเที่ยวนิเวศโลก บูรณาการเข้ากับทรัพยากรด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล เชื่อมโยงกับย่านนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเมืองเชียงใหม่และอำเภอต่างๆ
3. ส่งเสริมและมีส่วนร่วมในการผลักดัน เมืองเชียงใหม่ สู่เมืองมรดกโลก ให้วิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมต่างๆ ได้อนุรักษ์ ฟื้นฟู อันนำไปสู่การเรียนรู้สืบทอดต่อไปในอนาคต และยังถือว่าเป็นจุดแข็งเป็นเสน่ห์ของจังหวัด ที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้
มาเที่ยว ศึกษา สัมผัสชีวิตวัฒนธรรมล้านนา