​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 39/2563 รายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนมิถุนายน 2563

​ข่าว ธปท. ​ฉบับที่ 39/2563

รายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนมิถุนายน 2563

​          ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินและการประเมินภาวะเศรษฐกิจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2563

          ในการประชุมวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 0.50 ต่อปี ขณะที่ 3 เสียง เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี โดยเศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิม จากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงกว่าคาดและรัฐบาลหลายประเทศรวมทั้งไทยต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาด ซึ่งส่งผลกระทบให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก แนวโน้มเศรษฐกิจไทยหดตัวส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและความเปราะบางด้านเสถียรภาพระบบการเงินมากขึ้น กรรมการส่วนใหญ่จึงเห็นว่าควรดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อให้มีประสิทธิผลไปยังภาคเศรษฐกิจจริงได้ทันการณ์ ขณะที่กรรมการ 3 ท่านเห็นว่าควรรอประเมินผลของมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ออกไปก่อนหน้า สำหรับประชุมวันที่ 24 มิถุนายน 2563 คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวมากกว่าประมาณการเดิมจากผลกระทบของการระบาดที่รุนแรงกว่าคาด แต่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ ที่สามารถควบคุมการระบาดได้ดีซึ่งรวมถึงไทยด้วย คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี รวมถึงมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ออกมาเพิ่มเติม จะช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดคลี่คลาย

          คณะกรรมการฯ เห็นว่า ในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความไม่แน่นอนสูง จึงพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น นอกจากนี้ ในช่วงนี้ควรเร่งให้เกิด (1) การดูแลสภาพคล่องในระบบการเงินที่มีเพียงพอในระดับมหภาคให้กระจายไปสู่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ (2) การเร่งให้สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ในช่วงที่มาตรการเลื่อนและลดภาระหนี้ยังมีผลบังคับใช้ และ (3) มาตรการด้านอุปทานเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สามารถฟื้นตัวได้ในภูมิทัศน์ใหม่หลังการระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง อาทิ สร้างกลไกบริหารกำลังการผลิตส่วนเกิน ยกระดับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงาน และเร่งปฏิรูปกฎเกณฑ์ภาครัฐที่เป็นอุปสรรค

การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน

1. เศรษฐกิจโลก

          เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มหดตัวรุนแรง เนื่องจากรัฐบาลหลายประเทศดำเนินมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการผลิต การจ้างงาน การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการส่งออกที่หดตัวในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักและประเทศ คู่ค้าของไทยในเอเชีย จนทำให้เศรษฐกิจหลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย (recession) ในปี 2563 คณะกรรมการฯ จึงปรับลดข้อสมมติอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยคาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ 4.6 ในปี 2563 และกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 ในปี 2564 ทั้งนี้ ประเมินว่ายังมีโอกาสที่เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจะหดตัวมากกว่ากรณีฐาน จากการระบาดของ COVID-19 ที่อาจรุนแรงและยืดเยื้อกว่าคาดหากเกิดการระบาดระลอกใหม่ (second wave) ความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินโลกที่อาจสูงขึ้นจากความเสี่ยงที่ภาคเอกชนและรัฐบาลบางประเทศมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นหรืออาจถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ การกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่อาจกลับมารุนแรงขึ้น รวมถึงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ อาทิ ความตึงเครียดระหว่างจีนและฮ่องกง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าอาจขยายตัวมากกว่ากรณีฐาน หากการระบาดสิ้นสุดเร็วกว่าคาด หรือมาตรการภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ที่อาจกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่าคาด

          ภาครัฐทั่วโลกออกมาตรการการเงินการคลังเพิ่มเติม เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 โดยภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ภาคครัวเรือนและการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางประเทศอุตสาหกรรมหลักดำเนินมาตรการทางการเงินอื่นนอกจากการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ ส่วนธนาคารกลางในภูมิภาคหลายแห่งผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารกลางหลายประเทศยังดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพในตลาดการเงินควบคู่กัน เพื่อดูแลสภาพคล่องในตลาดการเงินอย่างต่อเนื่อง

2. ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินไทย

          ภาวะการเงินไทยโดยรวมผ่อนคลายมากขึ้น สะท้อนจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงที่คำนวณจากอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ระยะ 1 ปีข้างหน้า และยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศ ตลาดเกิดใหม่ สำหรับอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินไทยปรับลดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับลดลงน้อยกว่า ส่งผลให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับชันขึ้น สำหรับส่วนต่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนกับพันธบัตรรัฐบาล (corporate credit spread) ยังทรงตัวในระดับสูงหลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 ปี 2563 เนื่องจากนักลงทุนยังกังวลต่อผลประกอบการของบางธุรกิจ ด้านอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงค่อนข้างมากสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูเพื่อการพัฒนาสถาบันการเงิน (Financial Institutions Development Fund fee: FIDF fee) การระดมทุนของภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้นในภาคธุรกิจเพื่อเสริมสภาพคล่องและจากการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) ของภาครัฐ ด้านเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. และดัชนีค่าเงินบาททยอยปรับแข็งค่าตลอดทั้งไตรมาสที่ 2 เนื่องจากประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดได้ ประกอบกับมีแรงขายเงินดอลลาร์ สรอ. จากในประเทศ โดยเฉพาะจากการขายทองคำในช่วงที่ราคาทองคำปรับสูงขึ้นตามความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ กังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งประเมินความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม

          เสถียรภาพระบบการเงินไทยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มหดตัวในปีนี้จากผลกระทบของสถานการณ์ COVID-19 แม้เสถียรภาพด้านระบบสถาบันการเงิน ด้านต่างประเทศ และ ด้านการคลังยังเข้มแข็ง โดยเศรษฐกิจโลกที่อาจหดตัวมากกว่าคาดอาจส่งผลให้ (1) ราคาสินทรัพย์ในตลาดการเงินโลกปรับตัวแรง (2) เกิดการผิดนัดชำระหนี้ของธุรกิจและครัวเรือนในหลายประเทศรวมถึงไทย และ (3) ตราสารหนี้ภาคเอกชนบางกลุ่มมีโอกาสถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือเป็น non-investment grade

3. แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย

          เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ 8.1 มากกว่าที่ประมาณการไว้ในรายงานนโยบายการเงินฉบับก่อน และหดตัวมากในเกือบทุกองค์ประกอบยกเว้นการใช้จ่ายภาครัฐ เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 รุนแรงกว่าที่คาดไว้และหลายประเทศรวมทั้งไทยต้องดำเนินมาตรการควบคุมการระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วนทั่วโลกต้องหยุดชั่วคราวโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 การท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าของไทยจึงมีแนวโน้มหดตัวสูง ส่งผลต่อการบริโภคเอกชนผ่านรายได้และการจ้างงานที่ลดลง อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ลดลงส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัวสูง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายภาครัฐจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป จากการปรับโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพื่อเร่งเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งเม็ดเงินเพิ่มเติมจากมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบ COVID-19 ระยะที่ 3ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้และทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ตามการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย ซึ่งจะเอื้อให้ภาคการส่งออกสินค้า ภาคการท่องเที่ยว และอุปสงค์ในประเทศหดตัวน้อยลง สำหรับปี 2564 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 สูงขึ้นจากที่ประเมินไว้ ส่วนหนึ่งจากผลของฐานในปี 2563 ที่ต่ำกว่าเดิม ประกอบกับภาครัฐมีแนวโน้มที่จะดำเนินโครงการกระตุ้นการจ้างงานและโครงการลงทุนขนาดใหญ่เพิ่มเติม อย่างไรก็ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยจะต่ำกว่าระดับศักยภาพอยู่มาก

          ประมาณการเศรษฐกิจไทยครั้งนี้มีข้อสมมติเพิ่มเติม ได้แก่ (1) ไม่มีการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงในไทย จึงสามารถทยอยเปิดประเทศตามมาตรการระเบียงท่องเที่ยว (travel bubble) ซึ่งเป็นการจับคู่ประเทศที่ปลอดภัยจาก COVID-19 เพื่อให้เดินทางระหว่างกันในบริเวณที่กำหนดได้ตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2563 และ (2) วัคซีนป้องกันโรคจะมีใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2564

          มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวแรงกว่าที่ประเมินไว้จากด้านปริมาณเป็นสำคัญ สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่หดตัวแรง รวมถึงปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่การผลิต (supply chain disruption) ในบางธุรกิจ ด้านราคาสินค้าส่งออกมีแนวโน้มหดตัวจากราคาสินค้าที่เคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบเป็นสำคัญ ทั้งนี้ การทยอยผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดในหลายประเทศจะสนับสนุนการส่งออกสินค้าให้ทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 สำหรับปี 2564 คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะกลับมาขยายตัวจากทั้งด้านปริมาณที่จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจและการค้าโลก และด้านราคาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกโดยรวมมีแนวโน้มต่ำกว่าระดับก่อนการระบาดของ COVID-19 เนื่องจากอุปสงค์ต่างประเทศยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจทั่วโลกภายใต้วิถีชีวิตใหม่หลังการระบาดคลี่คลาย อาจส่งผลให้บางอุตสาหกรรมไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เต็มที่

          ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ จากการระบาดในต่างประเทศที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและลุกลามไปหลายประเทศมากกว่าที่คาด ทำให้รัฐบาลไทยมีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการจำกัดการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อไปอีกระยะ และจะเริ่มทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจากบางประเทศในรูปแบบระเบียงท่องเที่ยว (travel bubble) ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563

         ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2563 และปี 2564 เกินดุลอยู่ที่ 15.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และ 20.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ โดยประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2563 ลดลงจากประมาณการเดิม เนื่องจากดุลบริการขาดดุลมากขึ้นตามรายรับจากการท่องเที่ยวที่ลดลงมากเป็นสำคัญ สำหรับประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2564 ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าตามดุลการค้าและรายรับการท่องเที่ยวที่จะทยอยฟื้นตัว

          การใช้จ่ายภาครัฐจะมีบทบาทสำคัญในการพยุงเศรษฐกิจไทยในปี 2563 และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยคาดว่ารัฐบาลจะเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจาปี 2563 ในช่วงที่เหลือ รวมทั้งปรับโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายเพื่อเร่งเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่าน พ.ร.บ. โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ. 2563 และ การทบทวนโครงสร้างงบประมาณประจาปี 2564 อีกทั้งจะมีเม็ดเงินเพิ่มจากมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบ COVID-19 ระยะที่ 3 นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะช่วยประคับประคองภาคธุรกิจและรักษาการจ้างงานได้บางส่วน ทั้งนี้ รายจ่ายการลงทุนของรัฐวิสาหกิจยังมีแนวโน้มขยายตัวซึ่งจะช่วยเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจในระยะต่อไป

          การบริโภคภาคเอกชนในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 จากมาตรการควบคุมการระบาด รวมถึงรายได้ลูกจ้างนอกภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงมากและความเชื่อมั่นผู้บริโภคอ่อนแอ อย่างไรก็ดี การทยอยผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดจะเอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มต่ำกว่าระดับก่อนการระบาดตลอดช่วงประมาณการ เนื่องจากครัวเรือนใช้จ่ายอย่างระมัดระวังจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ในระยะข้างหน้า ประกอบกับครัวเรือนมีฐานะการเงินที่เปราะบางขึ้นจากรายได้ที่ลดลงและหนี้ที่อยู่ในระดับสูง

          การลงทุนภาคเอกชนในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวมากกว่าประมาณการเดิม เนื่องจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่หดตัว รวมถึงกำลังการผลิตส่วนเกินที่อยู่ในระดับสูงทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่เลื่อนแผนการลงทุนใหม่ออกไป อย่างไรก็ดี การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐมีความคืบหน้าตามแผน โดยเฉพาะโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (public-private partnership: PPP) ทั้งในและนอกเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) สำหรับปี 2564 การลงทุนบางโครงการมีแนวโน้มดำเนินการได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับเศรษฐกิจดิจิทัล

          เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงและมีความเสี่ยงโน้มไปด้านต่ำขึ้นกับผลกระทบของ COVID-19 เป็นสำคัญ โดยโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะหดตัวมากกว่ากรณีฐานมาจาก (1) เศรษฐกิจโลกอาจฟื้นตัวช้ากว่าคาดหรือเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรง ซึ่งอาจทำให้การส่งออกสินค้าไทยได้รับผลกระทบมากกว่าคาด (2) ธุรกิจและครัวเรือนมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น (3) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่อาจล่าช้า และ (4) ความเสี่ยงจากการระบาดระลอกใหม่ในไทยที่อาจนำไปสู่การใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้ง อย่างไรก็ดี โอกาสที่เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวสูงหรือหดตัวน้อยกว่ากรณีฐานมาจาก (1) ภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการบริโภคและการลงทุนในประเทศ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ได้ผลมากกว่าคาด (2) การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและโครงการ PPP จูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนมากกว่าคาด และ (3) ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้นหลังจากที่ไทยสามารถควบคุมโรคระบาดได้ดี

          ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2563 มีแนวโน้มติดลบมากขึ้นจากปัจจัยด้านอุปทานเป็นสำคัญ โดยเฉพาะราคาพลังงานที่ปรับลดลงแรงตามกับทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สอดคล้องกับอุปสงค์ที่ลดลงจากการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกและกำลังการผลิตส่วนเกินของธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการลดภาระค่าไฟฟ้าและน้าประปาของภาครัฐ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำสอดคล้องกับแรงกดดันด้านอุปสงค์ สำหรับระยะถัดไป อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยปรับเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ทยอยปรับสูงขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป คณะกรรมการฯ จึงประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบที่ร้อยละ 1.7 และกลับมาเป็นบวกที่ร้อยละ 0.9 ส่วนประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.0 และ 0.1 ในปี 2563 และ 2564 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในระยะข้างหน้า แนวโน้มเงินเฟ้อยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกหลักการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้หลายสาขาอุตสาหกรรมมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก รวมทั้งการกีดกันทางการค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจก่อให้เกิดการทวนกระแสโลกาภิวัฒน์ (deglobalization) ซึ่งในที่สุดจะส่งผลต่อห่วงโซ่การผลิตโลกและราคาสินค้าอย่างมีนัยสำคัญได้

ธนาคารแห่งประเทศไทย
8 กรกฎาคม 2563


ข้อมูลเพิ่มเติม: ส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน
โทร. 0 2356 7872, 0 2283 6186
E-mail: MPStrategyDiv@bot.or.th

>> Download PDF News

BOT Press Release No. 39/2020

Monetary Policy Report, June 2020

          The Bank of Thailand (BOT) released the June 2020 issue of the Monetary Policy Report. The Report, published quarterly, is aimed at enhancing public understanding of the Monetary Policy Committee (MPC)’s policy stance and its assessment of Thailand’s economic outlook. Details are summarized as follows.

Monetary Policy Conduct in the Second Quarter of 2020

          At the meeting on May 20, 2020, the Monetary Policy Committee voted 4 to 3 to cut the policy rate by 0.25 percentage point from 0.75 to 0.50 percent. Three members voted to maintain the policy rate at 0.75 percent at this meeting. The Committee viewed that the Thai economy would experience a larger contraction in 2020 than previously assessed due to a more-severe-than-expected impact of the COVID-19 outbreak and the containment measures implemented by governments in many countries including Thailand which led to disruptions of global economic activities. Moreover, the impacts of the economic contraction on employment and financial system vulnerability would be more pronounced. For this reason, most members viewed that additional monetary policy accommodation was necessary to provide an effective and timely support to the real economy. However, three members deemed it appropriate to assess the effectiveness of the previously implemented financial and credit measures. On June 24, 2020, the Committee voted unanimously to maintain the policy rate at 0.50 percent. At this meeting, the Committee assessed that the Thai economy would contract in 2020 more than the previous assessment, as the impact of the COVID-19 outbreak turned out more severe than expected. However, a gradual recovery was expected in the second half of 2020, when activities should begin to rebound in countries that could effectively contain the outbreak, including Thailand. The Committee viewed that extra accommodative monetary policy since the beginning of the year as well as the fiscal, financial, and credit measures additionally announced helped alleviate adverse impacts and would support the economic recovery after the pandemic subsided.

          Looking ahead, as the environment facing the Thai economy would remain highly uncertain, the Committee would thus stand ready to use additional appropriate monetary policy tools if necessary. Moreover, at the current juncture, the Committee deemed it important to (1) efficiently distribute liquidity in the financial system, which remained ample at the macroeconomic level, to businesses and households affected by the pandemic, (2) accelerate debt restructuring for borrowers while debt holidays and debt reduction measures were still in place, and (3) introduce supply-side policies to support changing economic structure in order to ensure a strong recovery in the post-COVID environment. These included, such as, establishing mechanism to manage excess production capacity, enhancing high-potential industries, accelerating infrastructure investments, facilitating upskill of labor, and accelerating reform of government regulations that remained obstacles.

Assessment of the Economic and Financial Outlook as the Basis for Policy Formulation

1. Global Economy

          The global economy would severely contract as governments in many countries implemented containment measures, causing disruptions to global economic activities. Consequently, this severely affected manufacturing, employment, private consumption, and private investment, as well as merchandise exports, which contracted across major advanced economies and Thailand’s trading partners in Asia. Thus, most countries especially major advanced economies were expected to enter a recession in 2020. Given such development, the Committee revised down economic growth projections for Thailand’s trading partners to a 4.6 percent contraction in 2020, followed by a 4.2 percent expansion in 2021. Also, there remained risks that trading partner economies would underperform the baseline projection. These risks included a more severe and prolonged outbreak than previously assessed due to an emergence of the second wave of the outbreak, greater vulnerabilities in the global financial system owing to increased risks of defaults or credit rating downgrades among corporates or governments in some countries, re-intensifying trade tensions between the U.S. and China, and geopolitical risks such as tensions between Mainland China and Hong Kong. On the other hand, there were also possibilities that trading partners’ economic growth would outperform the baseline projection if the pandemic ended sooner than expected or government stimulus measures worldwide would turn out to be more effective than expected.

          Governments in various countries worldwide implemented additional fiscal and monetary measures to alleviate the economic impact of the COVID-19 outbreak. Governments introduced series of relief measures aimed particularly at SMEs, households, and employment. At the same time, central banks in major advanced economies implemented unconventional measures in addition to maintaining ultra-low policy interest rates, while many regional central banks eased monetary policy further. Also, a number of central banks introduced measures to support stability of the financial markets to ensure sufficient liquidity in their respective markets.

2. Financial Conditions and Financial Stability

           Overall financial conditions in Thailand became more accommodative as reflected by the real policy interest rate, computed using the one-year ahead inflation expectations, that declined and remained low compared with those in other emerging markets. In addition, interest rates in Thailand’s financial markets declined. Short-term government bond yields fell by more than long-term yields, causing the government bond yield curve to steepen. Corporate credit spreads stabilized at a high level after having risen at the beginning of the second quarter of 2020, as investors were concerned about the profitability outlook of some businesses. Meanwhile, commercial bank lending rates declined substantially in line with the policy rate and the reduction in the Financial Institutions Development Fund (FIDF) contribution. Corporate financing accelerated in line with the need for liquidity buffer among businesses, and also as a result of the government’s soft loan programs. With regard to exchange rates, the baht against the U.S. dollar and the effective exchange rate appreciated throughout the second quarter, thanks to Thailand’s success in containing the spread of the virus. Adding to the strength of the baht were sales of the U.S. dollars by domestic players, particularly those related to the sales of gold when pandemic uncertainties drove up the gold price. Nevertheless, the Committee expressed concerns over the strength of the baht and its potential impacts on economic recovery. The Committee would thus closely monitor developments in the foreign exchange markets in order to assess the necessity of implementing additional appropriate measures.

          The Thai financial system became more vulnerable due to this year’s contraction of the economic outlook in light of the COVID-19 situation, although stability of financial institutions, the external sector, and the fiscal sector remained robust. A larger-than-expected contraction of the global economy could result in (1) sharp corrections in asset prices in global financial markets, (2) defaults by businesses and households in many countries including Thailand, and (3) corporate bonds being downgraded to non-investment grade.

3. Economic and Inflation Outlook

          The Thai economy would contract by 8.1 percent in 2020, more than previously assessed in the previous Monetary Policy Report. Such severe contraction would be observed across almost all economic growth components, except public expenditure. This was due to a more-severe-than-expected COVID-19 pandemic and the containment measures implemented by governments in many countries including Thailand. This led to temporary disruptions of global economic activities especially in the second quarter of 2020. Thailand’s tourism and merchandise exports were thus projected to markedly contract, which would weigh on private consumption as a result of weakening income and employment. A fall in domestic and external demand would also lead to a sharp contraction in private investment. However, public expenditure would play an important role in supporting the economic recovery in the period ahead. The support would come from the reallocation of budget structure for a faster disbursement to remedy and restore the economy, as well as an additional liquidity support from the third phase of government relief measures to alleviate the impact of COVID-19. Nevertheless, the Thai economy was expected to bottom out in the second quarter of this year and would gradually recover from the third quarter onward, following the relaxation of containment measures in many countries including Thailand. Merchandise exports, tourism, and domestic demand would therefore exhibit a smaller contraction. In 2021, the Thai economy was projected to expand at 5.0 percent, higher than previously assessed. This was partly due to the lower base in 2020, and as government was expected to launch additional employment stimulus package and large-scale investment projects. However, economic activities in Thailand would remain substantially below its potential level.

          Additional assumptions underlying the economic projection included, first, there would be no severe second-wave of the COVID-19 outbreak in Thailand. This would allow for the gradual re-opening of the country under the travel bubble scheme, which would be done through partnerships between COVID-19-free countries, permitting travelling into targeted locations in each countries starting from the second half of 2020. Second, there would be a widespread availability of COVID-19 vaccines from the fourth quarter of 2021 onward.

          The value of Thai merchandise exports in 2020 would experience a sharper decline than previously assessed, due mainly to contraction in volume. This was in line with the outlook of trading partner economies and global trade volume, as well as supply chain disruptions in some businesses. Meanwhile, prices of merchandise exports were projected to decline, mainly owing to prices of goods that were sensitive to movements in crude oil prices. Nevertheless, the gradual relaxation of containment measures in many countries would support the gradual recovery of merchandise exports from the third quarter of 2020 onward. In 2021, the value of merchandise exports was expected to expand, both in terms of volume in response to the recovery of global economy and global trade, and in terms of price in line with the outlook of global crude oil prices. However, the value of merchandise exports would be below the pre-pandemic level, as external demand had yet to fully recover. In addition, changing patterns of business operations worldwide under the new way of life in the post-COVID environment would limit the potential of certain industries to fully recover.

          The tourism sector was projected to recover more slowly than in the previous assessment, as the outbreak in other countries would be more prolonged and widespread than previously expected. The Thai government was expected to maintain its travel restrictions on inbound foreign tourists for an extended period and would begin to gradually re-open the country for foreign tourists from certain countries under the travel bubble scheme in the second half of 2020.

          The current account balance was projected to register a surplus of 15.5 and 20.2 billion U.S. dollars in 2020 and 2021, respectively. The current account balance in 2020 was revised down due to a larger deficit in the services balance, mainly as a result of a marked decline in tourism receipts. For 2021, the current account balance was projected to increase from the previous year, owing to gradual improvements in trade balance and tourism receipts.

          Public expenditure would play an important role in shoring up the economy in 2020 and supporting the recovery in the period ahead. The government was expected to accelerate disbursement of the fiscal year 2020 budget during the rest of the year, as well as reallocate the budget structure for a faster disbursement to remedy and restore the economy thanks to the Budget Expenditure Transfer Act, B.E. 2563 (A.D. 2020) and the revision of the fiscal year 2021 budget structure. There would also be an additional liquidity support from the third phase of government relief measures to alleviate the impact of COVID-19. In addition, the government would introduce further measures to help those affected by the outbreak, which would partly help sustain business operations and employment. Nevertheless, investment spending by state-owned enterprises was projected to expand, which would be key mechanism to support the economy going forward.

          Private consumption was expected to contract in 2020 more than the previous assessment, particularly in the second quarter. This was due to the containment measures, as well as a marked decline in non-farm income and weakening consumer confidence. However, the gradual relaxation of containment measures would lead to a gradual improvement in economic activities in the period ahead. Nevertheless, private consumption was expected to grow at a level below the pre-pandemic level throughout the forecast horizon. This was because households were expected to be cautious in spending given high uncertainties surrounding the COVID-19 situation going forward. Furthermore, households’ financial positions would be more vulnerable given falling income and elevated debt levels.

          Private investment was expected to contract in 2020 more than the previous assessment. This was on account of contractions in both domestic and external demand, as well as high levels of excess production capacity, which caused most businesses to postpone their investment plans. However, the government’s infrastructure investment projects were underway, particularly the public-private partnership (PPP) projects both within and outside the Eastern Economic Corridor (EEC). As for 2021, some investment projects would likely continue, particularly large-scale infrastructure investment and infrastructure investment to support the digital economy.

          Going forward, the Thai economy would continue to face high uncertainties. Risks to the economic projection tilted downward and depended largely on the impact of COVID-19. The possibilities that the Thai economy would underperform the baseline projection would be due to the following factors. First, the global economy could recover more slowly than expected or enter a severe recession, which would lead to a larger-than-expected impact on Thai merchandise exports. Second, default risks of businesses and households could increase. Third, the recovery of the tourism sector could be slower than expected. Forth, Thailand could experience the second wave of the COVID-19 outbreak, triggering another round of lockdown measures. However, there were possibilities that the Thai economy would outperform the baseline projection due to (1) better-than-expected impacts of additional government’s stimulus measures to shore up domestic consumption and investment, and measures to assist borrowers, (2) public infrastructure investment and PPP projects which could incentivize the private sector to invest more than expected, and (3) more relocations of production base to Thailand thanks to the success in containing the spread of the virus.

          Headline inflation in 2020 would be more negative than previously assessed, mainly due to supply-side factors. This was particularly because of sharply declined energy prices in line with global crude oil prices, which was owing to decreasing demand following disruptions of global economic activities and high levels of excess production capacity. Moreover, a fall in headline inflation was partly due to government measures to reduce electrical and water bills. Meanwhile, core inflation would remain low in line with muted demand-pull inflationary pressures. Looking ahead, headline inflation would gradually rise toward the target mainly in tandem with gradually rising crude oil prices. However, core inflation would remain subdued in line with Thailand’s gradual economic recovery outlook. The Committee thus projected headline inflation to be negative at 1.7 percent in 2020 and turn positive at 0.9 percent in 2021. Core inflation was projected to be zero and 0.1 percent in 2020 and 2021, respectively. Going forward, the inflation outlook would remain highly uncertain, as the COVID-19 pandemic had altered global economic structure, which resulted in large excess capacity in several industries. In addition, trade protectionism and geopolitical risks could lead to deglobalization, which would eventually result in a significant impact on global supply chains and prices of goods.

Bank of Thailand
8 July 2020

For further information: Monetary Policy Strategy Division
Tel. 0 2283 6186, 0 2356 7872
E-mail: MPStrategyDiv@bot.or.th

>> Download PDF News

บทความอื่นๆ

อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน”CMRU Startup Pitching Contest 2024″

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน กิจกรรมแข่งขันประกวด Business Model “CMRU St ...
Read More →

เปิดตัวโชว์รูมเชียงแสง ไทรอัมพ์ เชียงใหม่

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมงานเปิดตัวโชว์รูมเชียงแสง ไทรอัมพ์ เชียงใหม่ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ห ...
Read More →

เปิดตัวการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองมิตรภาพระหว่างเชียงใหม่ กับเมืองออสติน

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมงานเปิดตัวการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองมิตรภาพระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ ราชอ ...
Read More →