แถลงข่าว สถานการณ์ธุรกิจเกษตรและอาหารในครึ่งปีแรกและแนวโน้มครึ่งปีหลัง 2561

      เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561 ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช ประธานคณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้แถลงข่าวร่วม 3 สถาบัน ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันอาหาร เรื่อง สถานการณ์ธุรกิจเกษตรและอาหารในครึ่งปีแรกและแนวโน้มครึ่งปีหลัง 2561 ณ ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร

– ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาสแรกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และสะสม 4 เดือนแรกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก สำหรับสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญที่การผลิตขยายตัวขึ้น ได้แก่ น้ำมันพืช (ปาล์ม) น้ำตาลทราย การแปรรูปเนื้อสัตว์ (ไก่) และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่หดตัวลง ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกกอฮอล์. ผักผลไม้แปรรูป(สับปะรด) แป้งมันสำปะหลัง และกุ้ง

– การส่งออกสินค้าอาหารไทยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2561 ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงขึ้นร้อยละ 1.9 หรือคิดเป็นปริมาณ 10.9 ล้านตัน มูลค่า 318,577 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการของตลาดโลก ตลอดจน สถานการณ์ปริมาณวัตถุดิบและราคาสินค้าเกษตรโดยรวมยังเอื้อต่อการดำเนินงานของโรงงานแปรรูปอาหาร

– ด้านการตลาดส่งออก พบว่ากลุ่มประเทศ CLMV ยังเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีสัดส่วน 15.4% รองลงมา คือ ญี่ปุ่น 12.9% , อาเซียนเดิม 12.5% , สหรัฐอเมริกา 9.8% และ แอฟริกา 9.7% เป็นต้น – การส่งออกอาหารไทยในครึ่งปีแรกของปี 2561 (6 เดือน) คาดว่าจะมีมูลค่า 507,844 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.9 %

– แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยครึ่งปีหลังปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าจะมีมูลค่าส่งออก 1,070,000 ล้านบาท หรือ 5.3% คาดว่าสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ไก่ ปลาทูน่ากระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป แป้งมันสำปะหลัง เครื่องปรุงรส และผลิตภัณฑ์มะพร้าว แต่สินค้าที่มีแนวโน้มลดลง ได้แก่ กุ้ง สับปะรด และน้ำตาล

– ปัจจัยสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมอาหารไทย ปี 2561 ได้แก่ 

1) เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญฟื้นตัวขึ้น

2) ผลผลิตวัตถุดิบการเกษตรของไทยเพียงพอต่อการแปรรูป

3)รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการส่งออกเชิงรุก เช่น E-Commerce ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เป็นต้น

 

– ปัจจัยเสี่ยงต่ออุตสาหกรรมอาหารไทยปี 2561 ได้แก่ 

1) สถานการณ์การเมืองโลกที่กระทบต่อเศรษฐกิจ

2) ความผันผวนของค่าเงิน

3) ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ และราคาพลังงาน

4) การขาดแคลนแรงงานสูงขึ้น

 

ที่มา: หอการค้าไทย

_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _

ไม่พลาดข่าวสารกิจกรรมที่พัฒนาต่อยอดธุรกิจของคุณ
ติดตาม! เพจหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ติดดาว ตั้ง SEE FIRST หรือ เห็นโพสต์ก่อน
และเพิ่ม! Line@ : @eli8851q

บทความอื่นๆ

อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน”CMRU Startup Pitching Contest 2024″

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน กิจกรรมแข่งขันประกวด Business Model “CMRU St ...
Read More →

เปิดตัวโชว์รูมเชียงแสง ไทรอัมพ์ เชียงใหม่

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมงานเปิดตัวโชว์รูมเชียงแสง ไทรอัมพ์ เชียงใหม่ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ห ...
Read More →

เปิดตัวการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองมิตรภาพระหว่างเชียงใหม่ กับเมืองออสติน

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมงานเปิดตัวการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองมิตรภาพระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ ราชอ ...
Read More →