ครม. อนุมัติ 290 ล้าน ทำบัตราสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่ม

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ในวันนี้ว่า ที่ประชุมอนุมัติงบกลางปี 2560 วงเงิน 290 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอขอ เพื่อให้กรมบัญชีกลางจัดทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีอยู่ ทั้งการทำเพิ่ม และการทำบัตรใหม่ให้กับผู้ได้สิทธิ์บางรายที่ประสงค์เปลี่ยนมาใช้บัตรแมงมุม เนื่องจากย้ายเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ ขณะที่ล่าสุดมีร้านค้าธงฟ้าที่ติดตั้งเครื่อง EDC สำหรับใช้กับบัตรแล้ว 18,789 แห่ง และร้านก๊าซหุงต้ม 828 ร้าน

ที่ประชุมยังได้อนุมัติงบกลางรายจ่ายส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจในประเทศ วงเงิน 2,105 ล้านบาท โดยนำมาดำเนินใน 7 หน่วยงาน 7 โครงการ เพื่อพัฒนาประเทศและสร้างความเข้มแข็งในการเติบโตของเศรษฐกิจพร้อมกับออก 3 มาตรการ เพื่อลดผลกระทบนายจ้าง แบ่งเป็นมาตรการภาษีเพื่อลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ โดยสามารถนำค่าจ้างที่จ้างแรงงานรายวันมาหักลดหย่อนภาษีได้ 1.15 เท่า คาดรัฐเสียรายได้ 5,400 ล้านบาท ขณะที่มาตรการของทางกระทรวงอุตฯเพื่อให้เอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบสามารถปรับตัวได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน วงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท ดำเนินโครงการในปี 2561-2563 ในการจัดอบรม พัฒนา ยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และลดต้นทุนในการผลิต ของเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการ โดยจะเปิดรับเอกชนเข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ และมาตรการสุดท้ายลดผลกระทบจากการลดใช้แรงงานโดยแบ่งเป็น 2 มาตรการ ประกอบด้วยมาตรการในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร โดยสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ร้อยละ 50 ของราคาเครื่องจักร และการปรับปรุงมาตรการให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมของทาง บีโอไอ เพื่อพัฒนาความสามารถจากการแข่งขันเดิมของปี 2557 โดยจะขยายให้ครอบคลุมการอบรมบุคลากรให้มีทักษะที่สูงขึ้น โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ร้อยละ 200 ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกินขึ้น

นอกจากนี้  ที่ประชุมอนุมัติ มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ให้กับการบริจาคใน 4 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา และกองทุน ซึ่งจะช่วยการพัฒนาระบบสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะทำให้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศมีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อยได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาคจริง แต่เมื่อรวมกับการบริจาคเพื่อการศึกษาต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของรายได้ ขณะที่ผู้เสียภาษีนิติบุคคลหักลดหย่อยได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาคจริง แต่เมื่อรวมกับการบริจาคเพื่อการศึกษาต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไร โดยมีผลตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ถึง 31 ธันวาคม 2562 ทั้งนี้คาดว่ารัฐเสียรายได้ 60 ล้านบาท

 

ที่มา:เชียงใหม่นิวส์และinnnews

บทความอื่นๆ

อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน”CMRU Startup Pitching Contest 2024″

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน กิจกรรมแข่งขันประกวด Business Model “CMRU St ...
Read More →

เปิดตัวโชว์รูมเชียงแสง ไทรอัมพ์ เชียงใหม่

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมงานเปิดตัวโชว์รูมเชียงแสง ไทรอัมพ์ เชียงใหม่ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ห ...
Read More →

เปิดตัวการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองมิตรภาพระหว่างเชียงใหม่ กับเมืองออสติน

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมงานเปิดตัวการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองมิตรภาพระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ ราชอ ...
Read More →